ที่มา - http://www.everydayhealth.com/forums/womens-health/topic/my-sister-has-hypothyroidism-and-i-want-to-help-her,
http://www.angelfire.com/fl/endohystnhrt/1.html, http://www.womens-health-advisor.com/hysterectomy.html,
http://hysterectomyinformation.blogspot.com/2007/06/fibroids-you-never-need-hysterectomy.html, http://www.breastcancer.org/treatment/surgery/prophylactic_ovary/risks.jsp
Fibroids คืออะไร?
ฟัยบรอยด์ส (Fibroids) ไม่ใช่ “โรค” หรือความเจ็บป่วย แต่เป็นพื้นฐานทางพันธุกรรม “genetic blueprint” ของผู้หญิงเรานั่นเองค่ะ
Fibroids คือกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นเองและเติบโตภายในมดลูกโดยไม่ใช่เป็นเนื้อร้าย จะก่อตัวเมื่อผู้หญิงเราเข้าสู่ช่วงวัย 30 ปี โดยจะไม่มีก้อนใหม่เกิดขึ้นอีกหลังเข้าสู่วัย 40 ปีไปแล้ว จะมีก็แต่ขยายขนาดจากก้อนที่มีอยู่เท่านั้น เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน มันก็จะฝ่อตัวหดลงไปเอง โดยจะไม่สลายหายไปแต่ก็จะเหลือเป็นก้อนขนาดเล็กมากและมีแคลเซี่ยมเกาะอยู่บ้าง ในสตรีวัยปลาย 30 ถึง 40 ปีต้นๆ ขนาดของมดลูกที่ขยาย รวมก้อน fibroids แล้ว โดยเฉลี่ยคือ 13 ซม. ในสตรีวัย 40 กลางๆ ขนาดเฉลี่ยคือ 17 ซม. ส่วนวัย 40 ปลายๆ ถึง 50 ปีต้นๆ ขนาดจะเป็น 20 ซม.
ก้อน fibroids มีช่วงเติบโตชนิดฉับพลันอยู่ 2 ช่วงค่ะ แต่มันเป็นไปตามธรรมชาติ คาดเดาได้ และผู้หญิงเราไม่ต้องเป็นกังวลแต่อย่างใด ช่วงโตพรวดๆ ช่วงแรกจะอยู่ในสตรีวัยปลาย 30 ถึง 40 ปีต้นๆ จากนั้นมันก็จะอ้อยอิ่งรักษาขนาดคงที่อยู่อย่างนั้นไปสักสองสามปีค่ะ จนกระทั่งถึงวัยที่เราจะเข้าสู่ menopause หรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนของเราเริ่มวุ่นวาย ตอนนั้นล่ะค่ะที่เจ้า fibroids ก็จะเริ่มตื่นและขยายตัวอย่างพรวดพราดอีกครั้ง จากนั้นจึงจะค่อยๆ ฝ่อตัวไปอย่างที่กล่าวมาแล้ว
ในขณะที่บางคนไม่มีอาการใดๆ จากการมีก้อน fibroids เหล่านี้ แต่ก็มีหลายคนที่ปวดท้องอย่างแรง และประจำเดือนมาผิดปกติมาก ในบทความนี้บอกว่า ถ้าเจ้า fibroids ไม่ได้ทำให้ชีวิตรันทดอะไร ก็ให้อุ้มมันไว้อย่างนั้นล่ะค่ะ อย่าไปยุ่งกับเค้าจะดีที่สุด แต่ถ้ามันทำให้ชีวิตยุ่งยากก็ผ่าตัดเอาออกไปได้ แต่ไม่ต้องถึงขนาดตัดมดลูก และ/หรือ รังไข่ทิ้งก็ดีค่ะ
Fibroids “ลูกน้อย” ของป้า
เมื่อต้นปีนี้ (2010) คุณหมอทำ ultrasound และเจอก้อนเนื้องอกในมดลูกของป้า ทำให้ต้องรีบตรวจเพิ่มเติมว่ามีเซลล์มะเร็งหรือเปล่า โชคยังดีที่ผลออกมาเป็นข่าวดีค่ะ ไม่มีมะเร็ง และมันเป็นเพียงก้อนฟัยบรอยด์ส (fibroids)
อย่างไรก็ตาม คุณหมอเฉพาะทางท่านหนึ่งแนะนำให้ป้าตัดมดลูกทิ้งไปเลย รวมถึงรังไข่ (อู้ฮู โละทั้งยวงน่ะ !!??!) โดยให้เหตุผลว่า อายุใกล้ menopause แล้ว จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องก้อนกลายเป็นเนื้อร้ายรวมถึงมะเร็งรังไข่ในวันหน้า แต่ป้าขอคิดดูก่อนเพราะตะหงิดๆ เรื่องฮอร์โมนกับมดลูก จากประสบการณ์ค้นคว้าเรื่องไทรอยด์ ก็เลยมาค้นต่อเรื่อง fibroids ซะเลยว่า ควรหรือไม่ควรทำอย่างไรกับมัน ...แล้วก็ได้ความตามนี้ที่อยากมาแบ่งปันกันค่ะ ... (อ่านต่อ คลิก 'read more' นะคะ)
ข้อควรรู้
- มดลูกของเรามีคุณค่ากับร่างกายมากกว่าแค่โอบอุ้มทารกค่ะ สำหรับผู้มี fibroids ในมดลูกและผลตรวจไม่มีเซลล์มะเร็งอยู่นั้น การตัดมดลูกทิ้งเป็นสิ่งไม่จำเป็น แถมทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกต่างหาก ... และที่สำคัญ fibroids จะฝ่อตัวลงไปเองหลัง menopause ค่ะ
- กรณีอื่นที่จำเป็นต้องตัดมดลูกทิ้ง นอกเหนือจากที่มีเซลล์มะเร็งแล้ว ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดช่องท้องอย่างแรง และ/หรือ มีเลือดออกด้วย ในกรณีของการตัดรังไข่ ถ้าในครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ ก็ไม่จำเป็นต้องตัดมันทิ้งทั้งหมด
- ฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ที่ประกอบไปด้วย เอสโตรเจน, โพรเจสเตอโรน, และเทสทอสเตอโรนนั้น มีส่วนร่วมในกลไกการทำงานของร่างกายเราอยู่อย่างมหาศาล การสูญเสียหรือขาดฮอร์โมนเหล่านี้ไปจะกระทบสุขภาพของเรา ทำให้เกิดอาการหนึ่งและส่งผลไปสู่อีกอาการหนึ่งและต่อๆ ไปเป็นลูกโซ่ และยากในการเยียวยารักษาได้
- การสูญเสียฮอร์โมนจากมดลูก “เป็นคนละเรื่องกัน” กับการหมดประจำเดือน (menopause) นะคะ สาว (น้อย) ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนตามธรรมชาติยังคงมีรังไข่ที่ยังผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่สำคัญต่อไปในจำนวนน้อยแม้หมดประจำเดือนไปแล้ว แต่การตัดมดลูกทิ้ง (โดยเก็บหรือไม่เก็บรังไข่ไว้ก็ตาม) เป็นการสูญเสียอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญไปอย่างเฉียบพลัน ผิดธรรมชาติและหวนคืนไม่ได้อีกแล้วค่ะ - อาการที่พบมากจากการสูญเสียฮอร์โมนอย่างแรงหลังตัดรังไข่ หรือเมื่อรังไข่ไม่ทำงานเพราะมดลูกถูกตัดไปแล้ว ได้แก่ อ่อนเปลี้ย เพลีย ล้า ปวดตามข้อกระดูก หลงลืม อารมณ์ทางเพศลดลง ร้อนๆ หนาวๆ ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน เกิดอาการแพ้โน่นแพ้นี่ที่ไม่เคยแพ้มาก่อน น้ำหนักตัวเพิ่ม นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก ใจสั่น ทางเดินกระเพาะปัสสาวะอักเสบ/เชื้อรา ฯลฯ
- ในบทความที่สัมภาษณ์คุณหมอเออร์เนส จี. บาร์ทซิค จากวิทยาลัยการแพทย์ของมหาวิทยาลัยคอร์แนล ระบุว่า น่าเสียดายที่ผู้หญิงเราจำนวนมากไม่ทราบว่า ยังมีทางเลือกอื่นๆ ที่ดีกว่าการตัดมดลูกหรือรังไข่ทิ้งอยู่ค่ะ สำหรับ fibroids นั้น สามารถใช้เลเซอร์ หรือใช้ไฟฟ้าจี้จุด (electrocautery) เข้าไปสกัดไม่ให้เลือดเข้าไปเลี้ยงมันก็ได้ หรือแม้แต่ก้อนที่ใหญ่มากก็ผ่าตัดออกได้โดยไม่ต้องถึงกับตัดมดลูกทิ้งด้วยซ้ำไป คุณหมอบอกด้วยว่า ถ้ามี fibroids หลายลูกที่ไปทำให้มดลูกขยาย แต่คนไข้พ้นวัยมีครรภ์แล้ว เพียงแค่ตัดแต่ส่วนบนของมดลูกออกก็พอค่ะ
- สำหรับผู้หญิงในวัย 40 และ 50 ปีขึ้นไป การตัดรังไข่ออกไปทั้งหมดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น และถ้าตัดทิ้งก่อน menopause ก็จะทำให้เกิดการหมดประจำเดือนก่อนเวลาอย่างเฉียบพลัน ที่จะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ขั้นรุนแรงตามมาอีกด้วย
- อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ป่วยเลือกที่จะตัดรังไข่ อย่าลืมว่าต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ต่อไปด้วยการกินฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy - HRT) ด้วยค่ะ สำหรับสตรีที่มียีนส์ BRCA 1 และ 2 นั้น การตัดรังไข่ออกสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งทรวงอกได้ 50% และมะเร็งรังไข่ได้ถึง 90% อย่างไรก็ตาม แม้การตัดรังไข่ออกจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ได้จริง แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงในการเกิด "Primary Peritoneal Cancer" ออกไปได้ โรคนี้เกิดที่เยื่อบุช่องท้องก่อนจะลุกลามต่อ ทั้งยังแสดงอาการและลักษณะเหมือนมะเร็งรังไข่มากและตรวจพบยากในระยะแรกค่ะ
ตัดดี ไม่ตัดดี?
เหอๆ ..ไม่รู้เหมือนกัน ป้าก็ยังไม่เข้า menopause ก็เลยสรุปกับคุณหมอประจำตัวของป้าว่าจะลองอุ้มเจ้าฟ.บ.งี้ไปก่อนอ่ะค่ะ กระเตงกันมานับปี ชักรู้สึกผูกพัน หุหุ
คุณหมอของป้าก็เลยวางตารางชีวิตให้ป้าคอยมาเช็คดูทุก 6 เดือนว่าเค้าโตขึ้นไหม ฯลฯ ถ้าอยู่ในขนาดเฉลี่ยก็อุ้มกันต่อไป พอเข้า menopause แล้วก็คอยดูเหมือนเดิม คราวนี้ไม่ดูว่าโตไหมล่ะ แต่ดูว่าเริ่มฝ่อลงหรือยัง ..อือ อะไรจะเป็นก็ต้องเป็นไปเน๊อะ ระหว่างนี้ก็ทำดีคิดดีสร้างบุญงดบาปไปตามปกติเห็นจะดีสุดเจ้าข้า
อโรคยาฯ ทุกคนค่ะ ..ขอคุณพระฯ คุ้มครอง
^_^
No comments:
Post a Comment