ไม่ต้องหันซ้ายย้ายขวามองใครอื่นหรอกเน้อ คนอ่านน่ะแหละจ้ะ ยกมือได้เยยยยยย...
อย่าเพิ่งด่าป้า 5555 และอย่าเพิ่งตกใจ
มันช่างเป็นเรื่องธรรมดาอย่างไม่น่าเชื่อ
เรามีกันทุกคนเลยอ่ะ
ก่อนอื่น แจงกระจ่างก่อนว่าคนละเรื่องกับเห็บน้องหมาน้าแมวเน้อ อันนี้เห็บคนเลยแหละ
เหตุที่มาเล่าสู่กันอ่านเรื่องนี้ ก็งอกมาจากที่ป้าและคุณแม่ไปตรวจตาประจำปีกันมาค่ะ
คุยสัพเพเหระกับคุณหมอ ไปๆ มาๆ หมอบอกขอดึงขนตาดูหน่อยดิ๊ สงสัยมีสัตว์เลี้ยง
อุ๊ย มีจริงๆ เลย ป้ามี 2 ตัว แม่มี 4 ตัว (นี่คือแค่สุ่มนะ ทั้งแนวขนตามีอีกกี่ตัวไม่รู้)
คุณหมอให้ไปดูในกล้องจุลทรรศน์ด้วยแหละ กิ๊วววววว น่ารักชะมัด (หมอนะ ไม่ใช่เห็บ)
ใครอยากเห็นหน้าตาเจ้าตัวนี้ หรือสนใจข้อมูลเพิ่ม
ลองไปดูทางฝั่งขวาของ blog ได้ค่ะ ที่ "ของแถมสุขภาพ" เลือกหัวข้อ "รู้จักกับเห็บคน Demodex"
ป้าไปสั่งสมสรรหาเรื่องราวเจ้าตัวนี้ (จะได้เลี้ยงดูเค้าถูกวิธี คิกๆ)
แล้วก็เลยแปลสรุปมาลงไว้เผื่อกันอ่านซะเลยค่ะ ได้ความรู้ดีนะจะบอกให้
เบรคจากเรื่องไทรอยด์เปลี่ยนบรรยากาศมาเป็นเห็บก็เก๋ไปอีกแบบ ฮิ
พักนี้หลานๆ เขียนไปคุยทาง email กันซะเยอะกว่าเขียนลงที่นี่แหละ
ก็ไม่ว่ากันค่ะ เพราะเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัวเน๊อะ
แต่ป้าแอบเสียดายบางเคสที่ให้ความรู้อุทธาหรณ์ได้มากมาย
ไว้ไงป้าจะลองขออนุญาตเจ้าของเคสเอามาเล่าสู่กันอ่านบน blog แบบไม่เอ่ยนามนะคะ
โชคดีค่ะ
ป้าเอง ^^
แบ่งปันเรื่องราวและข้อมูล ..เพื่อคนไทยเป็นพิเศษ..จากประสบการณ์ของเจ้าของบล็อกที่เคยป่วยด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษและตาโปน
Thursday, September 19, 2013
รู้จักกับเห็บคน Demodex …Getting to know Demodex, the human mites.
Demodex คืออะไร?
Demodex เป็นเห็บชนิดหนึ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อาศัยในรูขุมขน รากผม และในต่อมไขมันของคนและสัตว์ มีทั้งหมด 65 สายพันธุ์ ไม่ชอบแสงสว่าง ช่วงกลางวันคือเวลากิน กลางคืนคือเวลาคลานออกมาผสมพันธุ์ หรือย้ายที่เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่
ส่วนที่อยู่บนตัวคนคือ สายพันธุ์ Demodex folliculorum และ Demodex brevis เท่านั้น* และเป็นคนละพันธุ์กับที่พบในหมาและแมว (ในหมาคือ Demodex canis ในแมวคือ Demodex cati และในวัวคือ Demodex bovis)
ส่วนชนิด Demodex brevis จะตัวสั้นกว่า คือราวๆ 0.2 มม. และชอบแยกกันอยู่มากกว่า พวกนี้พักผ่อนที่ต่อมไขมันแนวขอบตา (ต่อมมัยโบเมียน Meibomian) และในรูขุมขนใกล้รากขน/รากผมกันตามอัธยาศัย และชอบกินเซลล์ของต่อมไขมัน
ทั้ง 2 สายพันธุ์มี 8 ขากุดๆ น่าเอ็นดู จะเดินไปไหนทีเต่าเรียกเฮีย เพราะก้าวได้ทีละ 8-16 มม. ต่อชั่วโมงเท่านั้น สมมุติว่าเดินจากหูไปจมูกบนหน้าของเราก็ราวๆ ½ วัน ลำตัวเป็นเกร็ดถี่ๆ เหมาะสำหรับเกาะเกี่ยวเส้นผมหรือขนได้ดีนักแล
Demodex มีอีกชื่อว่า face mites เพราะเชื่อกันว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิด Demodicosis คือการคันยุบยิบๆ ที่มาพร้อมปัญหาสารพัดต่อผิวและทำให้เกิดสิวอักเสบ* รวมถึงรังแค ผมร่วง ขนคิ้ว-ขนตาร่วง และโรคตา เช่นขอบเปลือกตาอักเสบด้วย
ว่าแล้วก็รีบไปปรึกษานักกีฏวิทยา (นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง) จึงได้มีการจัดเจ้าตัวพวกนี้เข้ากลุ่มคุณเห็บเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาก็มีผู้หวังดีพากันมาช่วยตั้งชื่อให้ใหญ่เลย มี Simonea ตามนามสกุลหมอด้วย แต่หมอแกกลัวจะเป็นเกียรติ (หรือ “เกลียด” ก็ไม่รู้) เกินไปแกเลยไม่เล่นด้วย สุดท้ายผู้ชนะเลิศคือคุณ Richard Owen นักวิทย์จาก London ที่นำภาษากรีกคำว่า demo แปลว่า มันหมู และ dex แปลว่าหนอนชอนไช มารวมเป็นชื่อให้ว่า Demodex folliculorum และใช้กันมาจนทุกวันนี้
Fast forward มาถึงค.ศ. 1963… นักวิทย์ชาวรัสเซียชื่อ L. Kh. Akbulatova เกิดสังเกตเห็นขึ้นมาว่าเจ้าเห็บ demodex มันมีทั้งแบบตัวเรียวยาวและตัวที่ป้อมปุ๊กลุกกว่า (แกคงว่างมาก) แล้วก็ถือวิสาสะตั้งชื่อให้น้องป้อมด้วยว่า Demodex brevis
มาถึงปี 1972 หลังจากที่ได้มีการศึกษาความประพฤติของน้องเห็บเหล่านี้อย่างลึกล้ำ (โอ้..ว่างกันมากทั้งคณะเลย) เค้าก็ได้มีการจัดชนิด folliculorum กับ brevis ให้เป็นสายพันธุ์ที่แยกกันโดยสิ้นเชิง และสรุปเป็นทางการว่า เห็บมนุษย์มี 2 สายพันธุ์นี้แล
ย้อนหลังไปนิด.. ช่วงปี 1967 คือปีที่มีการออกวารสารจักษุแพทย์ยืนยันถึงสาเหตุของอาการเปลือกตาอักเสบ ว่ามาจากเจ้าตัวเรียวยาว Demodex folliculorum โดยคุณหมอ Tullos Coston เป็นผู้ค้นพบน้องเรียวทำมาหากินอยู่บนขนตาคนไข้และได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อจนมั่นใจและจัดการตีพิมพ์วารสารดังกล่าว
[ขอบคุณ Discovery Magazine สำหรับภาพนี้ค่ะ]
เราเลี้ยง Demodex กันทุกคนเลย
เพราะมนุษย์ก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เจ้าเห็บพันธุ์นี้จะอาศัยอยู่บนตัวของเรา ...ทุกคนมี Demodex ... แต่จะมากน้อยต่างกันไปตามอายุและสภาพภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคน แถมใครผิวมันมากก็มีโอกาสเกิดมากหน่อยเพราะอาหารหลักของเจ้าตัวพวกนี้คือไขมันนั่นเอง
แม้กระทั่งในผู้ที่แข็งแรงไร้โรคานานาใด ถ้าลองสุ่มตรวจขนตา ทุก 1 ใน 10 เส้นโดยประมาณต้องมีการเจอ Demodex อย่างน้อย 1 ตัวหรือมากกว่านั้น
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบส่วนมากจะยังไม่พบการแพร่พันธุ์ แต่ชาววัยเอ๊าะที่อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีจะตรวจพบ Demodex 4% ..ส่วนช่วงวัย 20 ปีจะพบ 25% ..ช่วงวัย 50 ปีจะพบ 30% ..และวัย 90 ปีขึ้นไปจะพบ Demodex ในตัวมากถึง 50-100% เรียกว่ายิ่งแก่ยิ่งเจอ
วงจรชีวิต ..น้อยๆ
อายุเค้าแสนสั้น แค่ 2-3 อาทิตย์เท่านั้นเอง ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ15-20 ฟองต่อครั้งในรากผมหรือขนให้ใกล้ต่อมไขมันที่สุด ระยะเวลาฟักไข่เป็นตัวคือ 2-3 วัน ออกเป็นตัวมาอยู่ได้อีก 10 กว่าวันก็สิ้นอายุขัย ภายในระยะเวลานั้นก็จะคลานขึ้นมาบนเส้นขนหรือผมเพื่อผสมพันธุ์ เสร็จกิจก็ลาจากไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวเมียจะอายุยืนกว่าเล็กน้อย วางไข่แล้วก็อยู่ดูแลไข่ได้อีกราวๆ 5 วันก่อนสลายร่างไปเช่นกัน
กรณีหลุดออกจากร่างกายของเรา Demodex จะขาดอาหารและตายภายใน 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้น เช่นเกาะอยู่บนขนผ้าเช็ดตัว ก็จะอยู่ได้นานขึ้นอีกหน่อย แต่ถ้าอยู่ในน้ำมัน อันนี้ของชอบเลย อยู่ต่อได้อีกเป็นวันๆ เกือบ 3 วันทีเดียว
แล้วมันมาอยู่กับเราได้ไง?
ยังมีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก ว่า demodex folliculorum/brevis แพร่กระจายจากสัตว์สู่คน ที่จริงแล้ว มีการระบุแล้วว่า สายพันธุ์ล้วนต่างกันและไม่ปะปน
ตัวหมัดเรื้อน (Sarcoptes scabiei) เท่านั้น ที่แพร่เชื้อติดต่อได้จากสัตว์สู่สัตว์และสู่คน พันธุ์นี้นี่เองที่ทำให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของเราเป็นขี้เรื้อน (Sarcoptic mange หรือ scabies)
ส่วนเห็บมนุษย์ demodex folliculorum/brevis นั้น ความจริงคือ ส่งต่อจากพ่อแม่สู่ลูก เป็นหนึ่งในสิ่งที่มากับธรรมชาติ เหมือนกับที่ลูกหมาได้รับหมัดเรื้อนจากแม่หมา ถ้ามีภูมิคุ้มกันดี เห็บหมัดเหล่านี้ก็อยู่ของมันไปโดยไม่ทำความเดือดร้อนให้เจ้าของร่างมากมายอะไร มีคันมีรำคาญบ้างเป็นครั้งคราว แต่เมื่อไรที่ร่างกาย (ภูมิคุ้มกัน) ของ host อ่อนแอ (เช่น โรคประจำตัว การป่วยไข้ การกินยา เครียด มีภูมิแพ้ กินอยู่ผิดหลักโภชนาการ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เจอมลภาวะต่างๆ ฮอร์โมน ช่วงมีประจำเดือน ฯลฯ) เจ้าพวกนี้ก็จะอิ่มเอมสนุกสนานและแพร่พันธุ์กันเกินเหตุ เราก็จะผมร่วง ขนตาหลุด ตาเจ็บ สิวหนองหน้าเห่อ ฯลฯ กันไป
นั่นเป็นคำตอบด้วยว่า ทำไมคนนั้นมีอาการ แต่คนนี้ไม่มี คนโน้นทำไมหน้าเห่อรูขุมขนเบิกบาน แต่คนนั้นทำไมผิวเนียนจัง ฯลฯ จะเจอ Demodex อาละวาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง สภาพร่างกาย และช่วงอายุของแต่ละคนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า Demodex ผ่านจากคนสู่คน เพราะฉะนั้น ไม่ควรใช้แปรงหวีผม ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องสำอางและอุปกรณ์แต่งหน้าร่วมกับผู้อื่น และซักเปลี่ยนปลอกหมอนทุกอาทิตย์เพื่ออนามัย (แต่ไม่ถึงขนาดต้องล้างบ้านพ่นยาฆ่าเชื้อ เพราะถ้าอยู่ในที่แห้ง นอกตัวเรา ไม่มีอาหาร ไม่นานเค้าก็ตายแล้ว)
ขอให้โชคดี ปลอดภัย ไร้เห็บกันทั่วหน้าค่ะ
ป้าเอง ^^
Demodex เป็นเห็บชนิดหนึ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อาศัยในรูขุมขน รากผม และในต่อมไขมันของคนและสัตว์ มีทั้งหมด 65 สายพันธุ์ ไม่ชอบแสงสว่าง ช่วงกลางวันคือเวลากิน กลางคืนคือเวลาคลานออกมาผสมพันธุ์ หรือย้ายที่เพื่อหาแหล่งอาหารใหม่
ส่วนที่อยู่บนตัวคนคือ สายพันธุ์ Demodex folliculorum และ Demodex brevis เท่านั้น* และเป็นคนละพันธุ์กับที่พบในหมาและแมว (ในหมาคือ Demodex canis ในแมวคือ Demodex cati และในวัวคือ Demodex bovis)
*[บาง sites บอกว่ามีแค่พันธุ์เดียวที่สนใจมนุษย์
คือ Demodex folliculorum … แต่บาง sites ยืนยันว่ามีทั้ง folliculorum และ brevis... ก็ไม่รู้เหมือนกัลลลล..ให้ผู้รู้เค้าถกกันป๊ายยยย]
เจ้าตัว Demodex folliculorum ชอบอยู่เป็นกลุ่ม เกาะกระจุกกันอยู่ในรูขุมขน
ในรากผม แหล่งอาศัยที่โปรดปรานเป็นพิเศษคือขนตา มีขนาดลำตัวยาวสุดเพียง 0.4 มม.
อาหารที่นิยมคือเซลล์ผิวหนัง ส่วนชนิด Demodex brevis จะตัวสั้นกว่า คือราวๆ 0.2 มม. และชอบแยกกันอยู่มากกว่า พวกนี้พักผ่อนที่ต่อมไขมันแนวขอบตา (ต่อมมัยโบเมียน Meibomian) และในรูขุมขนใกล้รากขน/รากผมกันตามอัธยาศัย และชอบกินเซลล์ของต่อมไขมัน
ทั้ง 2 สายพันธุ์มี 8 ขากุดๆ น่าเอ็นดู จะเดินไปไหนทีเต่าเรียกเฮีย เพราะก้าวได้ทีละ 8-16 มม. ต่อชั่วโมงเท่านั้น สมมุติว่าเดินจากหูไปจมูกบนหน้าของเราก็ราวๆ ½ วัน ลำตัวเป็นเกร็ดถี่ๆ เหมาะสำหรับเกาะเกี่ยวเส้นผมหรือขนได้ดีนักแล
Demodex มีอีกชื่อว่า face mites เพราะเชื่อกันว่าเป็นตัวการที่ทำให้เกิด Demodicosis คือการคันยุบยิบๆ ที่มาพร้อมปัญหาสารพัดต่อผิวและทำให้เกิดสิวอักเสบ* รวมถึงรังแค ผมร่วง ขนคิ้ว-ขนตาร่วง และโรคตา เช่นขอบเปลือกตาอักเสบด้วย
*[เรื่องสิวกับผิวอักเสบนี้
ที่จริงก็ยังวิจัยวิจารณ์ถกเถียงกันอยู่ว่าเจ้าเห็บนี้เป็นผู้ก่อการร้ายตามกล่าวหาหรือเปล่าเพราะเผอิญมีที่เจอระหว่างรักษาสิว
คือบีบปู๊ด เจ้าตัวนี้ก็โผล่ปิ๊ดออกมาจากหัวสิว
บางกลุ่มบอกมันไปมุดอยู่ในสิวหลังเกิดสิวแล้วต่างหาก เพราะสิวอุดมไขมันที่มันสุดเลิฟ
ส่วนบางค่ายก็บอกว่าก็มันน่ะแหละ มุดซะจนอักเสบเป็นสิว ฯลฯ]
Demodex อยู่คู่โลกมาตั้งแต่ตอนไหนไม่มีใครรู้
แต่ที่มีการจ๊ะเอ๋กันนั้นคือเมื่อปีค.ศ. 1841 ผู้ที่ค้นพบคือนักวิทย์ชื่อ ศจ. Frederick
Henle ที่บังเอิญไปเจอเจ้าตัวนี้ผึ่งพุงอยู่ในก้อนขี้หู
(เผอิญแกไม่ได้แจ้งว่าของแกเองหรือของใคร แล้วไปไงมาไงถึงไปเจอ) อย่างไรก็ตาม ปู่ Frederick
แกตกใจไม่รู้จะจัดเจ้าตัวนี้เข้ากลุ่มสัตว์โลกกลุ่มไหนดี
เลยรีบเขียนไปเล่าให้เพื่อนที่เป็นหมอชาวเยอรมันชื่อ Gustav Simon อ่านและรับรู้เป็นพยาน จากนั้น อีก 1 ปีต่อมา เข้าค.ศ. 1842 หมอกุสตาฟแกก็ไม่ยอมน้อยหน้า
บอกมาว่าเจอเข้าเหมือนกันตอนบีบสิวในคนไข้อยู่ 2-3 ราย แล้วเจ้าตัวพวกนี้หลุดออกมาว่าแล้วก็รีบไปปรึกษานักกีฏวิทยา (นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง) จึงได้มีการจัดเจ้าตัวพวกนี้เข้ากลุ่มคุณเห็บเป็นที่เรียบร้อย ต่อมาก็มีผู้หวังดีพากันมาช่วยตั้งชื่อให้ใหญ่เลย มี Simonea ตามนามสกุลหมอด้วย แต่หมอแกกลัวจะเป็นเกียรติ (หรือ “เกลียด” ก็ไม่รู้) เกินไปแกเลยไม่เล่นด้วย สุดท้ายผู้ชนะเลิศคือคุณ Richard Owen นักวิทย์จาก London ที่นำภาษากรีกคำว่า demo แปลว่า มันหมู และ dex แปลว่าหนอนชอนไช มารวมเป็นชื่อให้ว่า Demodex folliculorum และใช้กันมาจนทุกวันนี้
Fast forward มาถึงค.ศ. 1963… นักวิทย์ชาวรัสเซียชื่อ L. Kh. Akbulatova เกิดสังเกตเห็นขึ้นมาว่าเจ้าเห็บ demodex มันมีทั้งแบบตัวเรียวยาวและตัวที่ป้อมปุ๊กลุกกว่า (แกคงว่างมาก) แล้วก็ถือวิสาสะตั้งชื่อให้น้องป้อมด้วยว่า Demodex brevis
มาถึงปี 1972 หลังจากที่ได้มีการศึกษาความประพฤติของน้องเห็บเหล่านี้อย่างลึกล้ำ (โอ้..ว่างกันมากทั้งคณะเลย) เค้าก็ได้มีการจัดชนิด folliculorum กับ brevis ให้เป็นสายพันธุ์ที่แยกกันโดยสิ้นเชิง และสรุปเป็นทางการว่า เห็บมนุษย์มี 2 สายพันธุ์นี้แล
ย้อนหลังไปนิด.. ช่วงปี 1967 คือปีที่มีการออกวารสารจักษุแพทย์ยืนยันถึงสาเหตุของอาการเปลือกตาอักเสบ ว่ามาจากเจ้าตัวเรียวยาว Demodex folliculorum โดยคุณหมอ Tullos Coston เป็นผู้ค้นพบน้องเรียวทำมาหากินอยู่บนขนตาคนไข้และได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อจนมั่นใจและจัดการตีพิมพ์วารสารดังกล่าว
เพราะมนุษย์ก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เจ้าเห็บพันธุ์นี้จะอาศัยอยู่บนตัวของเรา ...ทุกคนมี Demodex ... แต่จะมากน้อยต่างกันไปตามอายุและสภาพภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคน แถมใครผิวมันมากก็มีโอกาสเกิดมากหน่อยเพราะอาหารหลักของเจ้าตัวพวกนี้คือไขมันนั่นเอง
แม้กระทั่งในผู้ที่แข็งแรงไร้โรคานานาใด ถ้าลองสุ่มตรวจขนตา ทุก 1 ใน 10 เส้นโดยประมาณต้องมีการเจอ Demodex อย่างน้อย 1 ตัวหรือมากกว่านั้น
เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบส่วนมากจะยังไม่พบการแพร่พันธุ์ แต่ชาววัยเอ๊าะที่อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีจะตรวจพบ Demodex 4% ..ส่วนช่วงวัย 20 ปีจะพบ 25% ..ช่วงวัย 50 ปีจะพบ 30% ..และวัย 90 ปีขึ้นไปจะพบ Demodex ในตัวมากถึง 50-100% เรียกว่ายิ่งแก่ยิ่งเจอ
วงจรชีวิต ..น้อยๆ
อายุเค้าแสนสั้น แค่ 2-3 อาทิตย์เท่านั้นเอง ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ15-20 ฟองต่อครั้งในรากผมหรือขนให้ใกล้ต่อมไขมันที่สุด ระยะเวลาฟักไข่เป็นตัวคือ 2-3 วัน ออกเป็นตัวมาอยู่ได้อีก 10 กว่าวันก็สิ้นอายุขัย ภายในระยะเวลานั้นก็จะคลานขึ้นมาบนเส้นขนหรือผมเพื่อผสมพันธุ์ เสร็จกิจก็ลาจากไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวเมียจะอายุยืนกว่าเล็กน้อย วางไข่แล้วก็อยู่ดูแลไข่ได้อีกราวๆ 5 วันก่อนสลายร่างไปเช่นกัน
กรณีหลุดออกจากร่างกายของเรา Demodex จะขาดอาหารและตายภายใน 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชุ่มชื้น เช่นเกาะอยู่บนขนผ้าเช็ดตัว ก็จะอยู่ได้นานขึ้นอีกหน่อย แต่ถ้าอยู่ในน้ำมัน อันนี้ของชอบเลย อยู่ต่อได้อีกเป็นวันๆ เกือบ 3 วันทีเดียว
แล้วมันมาอยู่กับเราได้ไง?
ยังมีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก ว่า demodex folliculorum/brevis แพร่กระจายจากสัตว์สู่คน ที่จริงแล้ว มีการระบุแล้วว่า สายพันธุ์ล้วนต่างกันและไม่ปะปน
ตัวหมัดเรื้อน (Sarcoptes scabiei) เท่านั้น ที่แพร่เชื้อติดต่อได้จากสัตว์สู่สัตว์และสู่คน พันธุ์นี้นี่เองที่ทำให้สัตว์เลี้ยงแสนรักของเราเป็นขี้เรื้อน (Sarcoptic mange หรือ scabies)
ส่วนเห็บมนุษย์ demodex folliculorum/brevis นั้น ความจริงคือ ส่งต่อจากพ่อแม่สู่ลูก เป็นหนึ่งในสิ่งที่มากับธรรมชาติ เหมือนกับที่ลูกหมาได้รับหมัดเรื้อนจากแม่หมา ถ้ามีภูมิคุ้มกันดี เห็บหมัดเหล่านี้ก็อยู่ของมันไปโดยไม่ทำความเดือดร้อนให้เจ้าของร่างมากมายอะไร มีคันมีรำคาญบ้างเป็นครั้งคราว แต่เมื่อไรที่ร่างกาย (ภูมิคุ้มกัน) ของ host อ่อนแอ (เช่น โรคประจำตัว การป่วยไข้ การกินยา เครียด มีภูมิแพ้ กินอยู่ผิดหลักโภชนาการ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เจอมลภาวะต่างๆ ฮอร์โมน ช่วงมีประจำเดือน ฯลฯ) เจ้าพวกนี้ก็จะอิ่มเอมสนุกสนานและแพร่พันธุ์กันเกินเหตุ เราก็จะผมร่วง ขนตาหลุด ตาเจ็บ สิวหนองหน้าเห่อ ฯลฯ กันไป
นั่นเป็นคำตอบด้วยว่า ทำไมคนนั้นมีอาการ แต่คนนี้ไม่มี คนโน้นทำไมหน้าเห่อรูขุมขนเบิกบาน แต่คนนั้นทำไมผิวเนียนจัง ฯลฯ จะเจอ Demodex อาละวาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง สภาพร่างกาย และช่วงอายุของแต่ละคนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า Demodex ผ่านจากคนสู่คน เพราะฉะนั้น ไม่ควรใช้แปรงหวีผม ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องสำอางและอุปกรณ์แต่งหน้าร่วมกับผู้อื่น และซักเปลี่ยนปลอกหมอนทุกอาทิตย์เพื่ออนามัย (แต่ไม่ถึงขนาดต้องล้างบ้านพ่นยาฆ่าเชื้อ เพราะถ้าอยู่ในที่แห้ง นอกตัวเรา ไม่มีอาหาร ไม่นานเค้าก็ตายแล้ว)
อาการมีอะไรบ้าง?
อาการหลักๆ มีดังนี้ คันยุบยิบที่หัว
ที่ตา ที่ขอบตา / ตาแสบๆ คันๆ / ขอบตาแดงมีขี้ตาเกาะ / น้ำตาปริ่ม / แสบตา / บางครั้งเหมือนมีอะไรทิ่มลูกตาทำให้เจ็บจึ้กแล้วก็หายไป
/ ตาพร่า ...เหล่านี้อาจนำไปสู่โรคทางดวงตาได้
นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของผมร่วง
ขนตา-ขนคิ้วร่วง / รูขุมขนกว้าง / ผิวมันมาก / สิวเสี้ยน สิวเห่อ สิวหนอง หน้าแดง
ฯลฯ
รักษา ป้องกัน หรือจัดการอย่างไรได้บ้าง?
ไม่ต่างจากการกำจัดเห็บหมาหรือแมว
การได้ศึกษาทำความเข้าใจในวงจรชีวิตของมันช่วยให้เราวางแผนการขจัดการแพร่พันธุ์อย่างได้ผล
ขั้นตอนคือ
จัดการกับตัวที่โตเต็มที่ก่อน ซึ่งเป็นพวกที่ขึ้นมาบนผิวเพื่อผสมพันธุ์ / วางไข่ /
ย้ายที่กิน ส่วนไข่และตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่ใต้ชั้นผิวไม่มียากินหรือยาทาใดๆ
จัดการได้ ต้องรอให้โผล่ออกมาเองเมื่อโต เพราะอย่างนี้ ความรู้ในวงจรชีวิตของมันช่วยเราได้มากในการคำนวณระยะเวลาการรักษาและป้องกัน
นั่นคือ ช่วงเวลาจากการผสมพันธุ์จนถึงฝักตัวของรุ่นต่อไปอยู่ที่ 15-20 วัน การรักษาต่อเนื่องจึงสำคัญมากเพื่อจัดการตัวโตที่ออกมาบนผิวให้หมดเป็นรอบๆ
ไปก่อนจะผสมพันธุ์ได้นั่นเอง
** ข้อควรคำนึง – ในการรักษาสิวที่มาจาก Demodex ถ้าหลังการรักษา 2-3 วันไปแล้ว เห็นว่าผิวเหมือนจะอักเสบกว่าเดิม (หรือศัพท์บ้านๆ
ก็ “หน้าเห่อ”) ไม่ต้องตกใจหรือรันทดท้อแท้ นั่นเป็นสัญญานที่ยืนยันว่าการรักษาเริ่มได้ผลแล้ว
เพราะ Demodex เริ่มบ๊ายบายสลายร่างกันไป
ก็อาจทำให้เกิดการอักเสบบนผิวเพิ่มขึ้นได้ในบางราย ไม่นานก็จะบรรเทา ที่สำคัญห้ามหยุดการกินหรือทายาระหว่างนี้เป็นอันขาด
**
สิ่งที่ฆ่า Demodex อย่างได้ผลดีเยี่ยม คือ Tea tree oil และตัวยา Ivermectinนอกจากนี้มียาทาที่เป็นสเตียรอยด์ด้วย
ถ้าอาการไม่หนักหนามากไม่แนะนำให้ยุ่งเกี่ยวกับสเตียรอยด์ ใช้แค่ผลิตภัณฑ์ที่มี Tea
tree oil สม่ำเสมอก็ช่วยกำจัด Demodex ได้เยี่ยมพอแล้ว
** คำเตือน - Tea tree oil 100% มีความเข้มข้นสูง
อาจระคายเคืองผิวได้ถ้าใช้โดยตรง ถ้าใช้แบบ 100% ต้องทำให้เจือจางก่อน
โดยผสมกับ macadamia oil หรือ walnut oil หรือที่ง่ายกว่านั้นคือผสมกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ก็ได้ **
สำหรับการกำจัด Demodex บนขนตา ...ที่ website ของ
NCBI (National Center for Biotechnology Information - ศูนย์ไบโอเทคแห่งชาติที่อเมริกา)
เล่าถึงความสำเร็จในการกำจัดมันออกได้ราบเรียบภายใน 1 เดือน ด้วยการให้ผู้ทดลองเช็ดตาด้วย
Tea tree oil 50% และนวดเปลือกตาด้วย Tea
tree oil 5% เป็นประจำทุกวัน นอกจากปราบ Demodex บนขนตาได้หมดแล้ว ยังพบด้วยว่า Tea tree oil สามารถรักษาบรรเทาอาการขอบตาอักเสบ
ตาแดง และกระจกตาอักเสบได้ดีด้วย
ร้านขายยาบ้านเราก็มีเจลสำหรับเช็ดเปลือกตาเพื่อช่วยป้องกันการเกิด Demodex หรือหมอตาบางท่านก็มี เจลหรือครีม Tea
tree oil สำหรับเช็ดเปลือกตาได้อย่างปลอดภัย ลองไถ่ถามกันดูนะคะขอให้โชคดี ปลอดภัย ไร้เห็บกันทั่วหน้าค่ะ
ป้าเอง ^^
Sources / ที่มา:
Subscribe to:
Posts (Atom)